简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทฤษฎี Dow Theory คิดค้นCharles Henry Dow โดยมีพื้นฐานของการวิเคราะห์ราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) เพื่อการทำนายแนวโน้มตลาด โดยเป็นรากฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นเรียนรู้การวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ด้วยปัจจัยทาง Technical
สำหรับนักเทรดจะเป็นเรื่องที่ดีมาก หากเราสามารถทำนายหรือวิเคราะห์ราคาได้ แอดเหยี่ยวบอกเลย นักเทรดต้องรู้จักทฤษฎี Dow Theory เป็นอีกหนึ่งทฤษฎีที่สำคัญมากที่สุดของการลงทุนแบบเทคนิค โดยสามารถเอาไปประยุกต์ และต่อยอดไปใช้ในสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ในอนาคต บทความนี้นักเทรดไม่ควรพลาด!!
ขอบคุณรูปจาก Fxbrokerscam
ทฤษฎี Dow Theory คืออะไร?
Charles Henry Dow เป็นผู้คิดค้นทฤษฎี Dow Theory นี้ขึ้นมามากว่า 100 ปีที่แล้ว โดยมีพื้นฐานของการวิเคราะห์ราคาด้วยปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis) เพื่อการทำนายแนวโน้มตลาด โดยเป็นรากฐานที่สำคัญในการเริ่มต้นเรียนรู้การวิเคราะห์ราคาสินทรัพย์ด้วยปัจจัยทาง Technical ซึ่งทฤษฎีได้กล่าวถึง หลักการที่สำคัญของการใช้ Technical ไว้ 6 ข้อ ดังนี้
1.ตลาดได้ดูดซับข่าวสาร, เหตุการณ์ทางการเงิน และเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และสะท้อนไปในราคาทั้งหมดแล้ว
นักเทรดสายเทคนิคเชื่อว่า กราฟ หรือ ราคาหุ้น ได้สะท้อนข่าวทุกอย่างไปเรียบร้อยแล้ว (ทั้งข่าวดีและข่าวร้าย) ซึ่งมันก็ค่อนข้างจะเป็นจริงตามนั้น
ตัวอย่าง
หากเห็นว่างบการเงินไตรมาสนี้ของหุ้น A ออกมาค่อนข้างดี กำไรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก แต่พอมาดูที่กราฟหุ้น A เรากลับเห็นว่าราคาหุ้น A ขึ้นมาตลอดทั้งสัปดาห์แล้ว ถ้าเผลอไปเข้าซื้อหุ้น A เพราะ ข่าวเรื่องงบการเงินก็อาจจะทำให้ขาดทุนได้
แต่ในทางกลับกัน บางครั้งก็เห็นว่า งบการเงินของบางบริษัทออกมาไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่หลังจากประกาศงบราคาหุ้นกลับขึ้น นั่นก็เพราะ ราคาหุ้นได้รับข่าวร้ายไปหมดแล้วนั่นเอง แบบนี้แหละที่เข้าหลักที่ว่า “ข่าวร้ายให้ซื้อ ข่าวดีมาให้ขาย”
2.ราคาเคลื่อนไหวอย่างเป็นแนวโน้ม
หากมองในภาพใหญ่แล้ว Dow เชื่อว่าราคาเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีแนวโน้ม โดยมี 2 แนวโน้ม คือ Bull market (ขึ้น) และ Bear market (ลง) อีกทั้งในทฤษฎีของ Dow นั้นแบ่งแนวโน้มออกเป็น 3 ประเภท คือ
-Primary trend หรือแนวโน้มใหญ่ – 1 ปีขึ้นไป
-Secondary trend หรือแนวโน้มกลาง – เป็นช่วงการพักตัวของแนวโน้มใหญ่
-Minor trend หรือแนวโน้มย่อย – ต่ำกว่า 6 วัน – การเคลื่อนไหวของแนวโน้มย่อยนั้นจะไม่ส่งผลอะไรต่อภาพใหญ่ ซึ่งเป็นเพียง noise ของตลาด
3.ราคาต้องยืนยันซึ่งกันและกัน
เมื่อเกิดสัญญาณการขึ้น หรือลง ราคาที่เกี่ยวข้องกันควรจะต้องยืนยันทิศทางซึ่งกันและกัน ถึงจะเป็นการเคลื่อนไหวในทิศทางนั้นอย่างแท้จริง โดยในทฤษฎีของ Dow แรกเริ่มนั้นได้คิดค้นว่าถ้าดัชนีของ Utilities (หุ้นกลุ่มสาธารณูปโภค) ขึ้นทำ New high นั้น ดัชนีของ Railroads (หุ้นกลุ่มขนส่ง) ต้องทำ New High ด้วยเช่นกัน ถึงจะยืนยันทิศทางขาขึ้นของดัชนีหุ้นในสหรัฐ เนื่องจาก Dow มองว่าถ้าภาพรวมของเศรษฐกิจจะเป็นขาขึ้นจริง ภาพใหญ่ต้องขึ้น ไม่ใช่ขึ้นเฉพาะบางอุตสาหกรรม
4.ปริมาณวอลุ่มยืนยันทิศทางราคา
เมื่ออยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ในช่วงการขึ้นนั้นปริมาณวอลุ่มควรเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงพักตัววอลุ่มควรหดตัว และในทางตรงกันข้ามเมื่ออยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง เมื่อราคาปรับตัวลง วอลุ่มควรเพิ่มขึ้น และหดตัวในช่วงรีบาวด์ … และข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ ปริมาณวอลุ่มจะสูงสุดในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของ Bull market หรือไม่ก็เป็นช่วงที่ตลาด panic ใน Bear market
5.ใช้ราคาปิดเท่านั้น
Dow เชื่อว่าการใช้ราคาปิดของวันนั้นถือว่าเป็นช่วงราคาที่สำคัญสุด เพราะทั้งพวกเดย์เทรดที่ต้องปิดสถานะเมื่อสิ้นวันหรือไม่ พวกนักลงทุนหรือ Hedge fund ต่าง ๆ ที่ชำระราคากันที่ราคาปิดทั้งสิ้น ทำให้ราคาปิดนั้นมีความสำคัญ แต่หลายคนอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่า แล้วถ้าตลาดเปิด 24 ชั่วโมงล่ะ จะทำอย่างไร ซึ่งไม่ว่าตลาดจะเปิด 24 ชั่วโมงหรือไม่ สุดท้ายก็ต้องมีเวลาที่ใช้ในการคำนวณราคาที่ใช้ชำระราคา หรือ Settlement price เพื่อที่จะคำนวณ กำไร ขาดทุน คำนวณเงิน margin ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้อาจใช้ช่วงที่พวกธนาคารหรือโบรกเกอร์ใช้ทำการ Settlement มาแทนช่วงของราคาปิดได้
6.แนวโน้มจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแนวโน้ม
นี่เป็นพื้นฐานของการเทรดสไตล์ Trend-following โดยเชื่อว่าแนวโน้มจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม โดย Dow จะไม่คาดการณ์ว่าแนวโน้มนั้นจะเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่ หรือระยะทางไกลแค่ไหน แต่แค่รอว่าถ้าเกิดสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้ม นั่นจะหมายถึงใกล้จบแนวโน้มนั้น
โดยปกติการแบ่งแนวโน้มของทฤษฎี Dow นั้นจะดูจากการทำ High และ Low ของราคา โดยถ้าราคาขึ้นทำ Higher high (ทำ High ใหม่) และทำ Lower High (ทำ Low สูงขึ้น) แสดงถึงทิศทางในขาขึ้น (Bull market)
แต่ถ้าราคาทำ Higher Low (ทำ High ต่ำลง) และทำ Lower Low (ทำ Low ต่ำลง) แสดงถึงทิศทางของแนวโน้มขาลง (Bear market)
ขอบคุณรูปจาก Fxbrokerscam
ขอบคุณข้อมูลจาก Fxbrokerscam และ Moneybuffalo
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับ "ความเสี่ยงในการเทรดฟอเร็กซ์" ซึ่งนักเทรดควรทราบเพื่อการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น โดยเน้นปัจจัยที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงจากเลเวอเรจที่อาจทำให้เกิดการขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้ อัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงจากคู่สัญญาที่อาจทำให้การทำธุรกรรมไม่เสร็จสมบูรณ์ รวมถึงความเสี่ยงจากประเทศที่มีผลต่อเสถียรภาพของสกุลเงิน การทำความเข้าใจความเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถปกป้องทุนและเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้อธิบายถึงความสำคัญของการรู้จักและหลีกเลี่ยงการ "Overtrade" ในการเทรด Forex โดยเน้นว่าการ Overtrade คือการเปิด Lot สูงเกินไปหรือเทรดบ่อยเกินไปในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงและอาจทำให้เงินทุนหมดได้ง่าย สาเหตุสำคัญมาจากการปล่อยให้อารมณ์ เช่น ความโกรธหรือความโลภ มีอิทธิพลต่อการเทรด บทความยังแนะนำวิธีการแก้ปัญหา เช่น การหยุดเทรดชั่วคราว เริ่มใหม่ด้วยบัญชี Demo และทบทวนแผนการเทรดเพื่อให้เกิดการจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น สรุปว่า การควบคุมอารมณ์และเทรดอย่างมีสติเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาพอร์ตให้มั่นคง
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงประเด็นสำคัญที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนต้องจำในระหว่างการเลือกตั้งสหรัฐฯ เราจะพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นพิเศษ เริ่มกันเลย
บทวิเคราะห์ทองคำ
XM
FXTM
TMGM
FxPro
EC Markets
STARTRADER
XM
FXTM
TMGM
FxPro
EC Markets
STARTRADER
XM
FXTM
TMGM
FxPro
EC Markets
STARTRADER
XM
FXTM
TMGM
FxPro
EC Markets
STARTRADER